เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

10. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

(เกษม ก้อนทอง ; 2549:135) สื่อหลายมิตินั้น เป็นสื่อผสมที่นำมาพัฒนาจากข้อความมิติ ซึ่งแนวคิดเกี่ยวข้องกับข้อความหลายมิติ hypertext นี้มีมานานแล้ว โดยแวนนิวาร์บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้น และเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้หลายๆข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่างๆ ได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน


ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือข้อความหลายมิติ คือ เทคโนโลยีของการอ่าน และการเขียนที่ไม่เรียงลำดับเนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟฟิกอย่างง่าย ที่มีการเชื่อมโยงถึงกันเรียกว่า “ จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น

ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติถือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลทีสนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เหมือนกับบัตรหรือ แผ่นฟิล์มใส หลายๆแผ่น ที่วางซ้อนกันเป็นชิ้นๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้

กิดานันท์ มลิทอง (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติเป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถนาการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม

สรุปได้ว่า การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติ และสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิตใจ ดังนั้น ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกเครือข่ายโยงใยความจำของมนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยผู้เรียนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น